1. สีน้ำอะครีลิค หรือ สีน้ำพลาสติก เป็นสีที่ใช้ทาผนังปูนหรือ คอนกรีต ผ้าเพดาน ที่ทั้งประเภทที่ใช้ทาภายนอก และทาภายใน โดยสีสำหรับทาภายนอกจะมีราคาสูงกว่าสีทาภายใน แต่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า

2. สีน้ำมัน เป็นสีที่ใช้สำหรับทาเหล็ก และไม้

3. สีย้อมไม้ เป็นสีที่ใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ ทำให้เนื้อไม้มีสีที่เราต้องการ

4. สีเคลือบไม้ เป็นสีที่ใช้ทาพวกไม้ต่างๆ ให้เห็นลายธรรมชาติของไม้ เช่น พวกแลคเกอร์ เชลแล็ก เป็นพวกรักษาเนื้ือไม้

5. สีกันสนิม เป็นสีที่ใช้ทาเหล็ก จะทารองพื้นเพื่อกันสนิมก่อนทาสีจริง

6. สีรองพื้นผิวปูนใหม่หรือ ผิวปูนใหม่ หรือผิวปูนเก่า เป็นสีที่ใช้สำหรับเตรียมพื้นผิว ลดความเป็นกรด หรือด่างของผิวปูน ทำให้การยึดเกาะเมื่อทำการทาสีจริง หรือสีทับหน้าดียิ่งขึ้น


ส่วนประกอบของสีทาบ้าน
โดยทั่วไปจะประกอบด้วย
     1. สารยึดเกาะหรือ อะครีลิค ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของสี
     2. ผงสี ซึ่งจะทำให้เกิดความสวยงาม
     3. ตัวทำละลาย ซึ่งจะเป็นตัวทำละลายทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน
     4. สารปรุงแต่งต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับปรับปรุงคุณภาพสี เช่น สารกันบูด สารกันเชื้อรา


เกรด หรือคุณภาพของสีทาบ้าน
โดยทั่วไปจะแบ่งเกรด หรือคุณภาพของสีดังต่อไปนี้

     เกรด A เป็นสีที่มีอะครีลิค 100% ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางยุโรป การรับประกันจะอยู่ประมาณ 5-10 ปี มักใช้ทาภายนอก โดยเฉพาะอาคารสูง หรือบ้านที่มีราคาแพง

     เกรด B เป็นสีที่มีอะครีลิค 100% ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางแถบเอเซีย การรับประกันะอยู่ประมาณ 3 -5 ปี มักใช้ทาภายนอก หรือ ภายใน

     เกรด C เป็นสีที่การผสมสารปรุงแต่ง 30% และมีอะครีลิค  70%  การรับประกันจะอยูที่ประมาณ 1 – 2 ปี มักใช้ทั้งทาภายนอก และภายใน

     เกรด D จะเป็นสีที่มีการผสมสารปรุงแต่งมากกว่า 30%


สีทาบ้านหรือสีอะคริลิก เป็นผลิตภัณฑ์สีสำหรับทาบ้านทาอาคารที่จำเป็นสำหรับบ้านที่สร้างใหม่หรือทาสีบ้านเก่า เพื่อให้บ้านมีความสวยงาม และรักษาพื้นผิวจากลม ความชื้น แสง และสภาวะแวดล้อมต่างๆ

ชนิดของสีในงานก่อสร้าง

1. สีสีน้ำมันหรือสีเคลือบเงา เป็นสีที่ใช้ตัวทำละลายเป็นส่วนผสมหรือทำให้เจือจาง เช่น ทินเนอร์ นิยมใช้ทาเคลือบงานไม้ งานโลหะ เพื่อทำให้พื้นผิวมีความสวยงาม มีความเงางาม และรักษาสภาพพื้นผิวให้คงทน

2. สีพลาสติกหรือสีอะคริลิก สีชนิดนี้มักใช้น้ำเป็นตัวทำละลายหรือส่วนผสมเพื่อใช้เกิดการเจือจางก่อนใช้งาน ใช้สำหรับทาเคลือบพื้นปูน พื้นคอนกรีต รวมถึงกระเบื้อง เพื่อให้เกิดสีสวยงาม และรักษาสภาพพื้นผิว

ชนิดผลิตภัณฑ์สีทาบ้าน 
แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

1. สีทาภายนอก 
เป็นสีจริงสำหรับทาทับส่วนผนังที่อยู่ภายนอกบ้านหลังทาสีรองพื้นแล้วเพื่อให้เกิดสีตามโทนสีที่ต้องการ สีภายนอกจึงต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1.1 ทนต่อสภาพอากาศ ความร้อนแสงแดด แรงลม ความชื้น และภาวะสิ่งแวดล้อมต่างๆได้ดี ด้วยโมเลกุลสีที่มีขนาดเล็ก สามารถยึดเกาะพื้นผิวผนังได้ดี
1.2 ปกปิดรอยแตกร้าว รอยแตกลอยงา ด้วยโมเลกุลสีที่มีความยืดหยุ่น สามารถหดกลับตามสภาพโครงสร้าง และจากความร้อนได้ดี
1.3 ป้องกันน้ำซึมผ่าน ป้องกันพื้นผิวซีเมนต์ และเหล็กจากน้ำฝน และความชื้นได้ดี
1.4 เนื้อสีลื่น เป็นเงา ไม่จับฝุ่นง่าย
1.5 ขัดหรือทำความสะอาดรอยเลอะหรือความสกปรกออกได้ง่าย โดยไม่ทำลายเนื้อสีให้เสียหาย
1.6 ป้องกันเชื้อรา ตะไคร่น้ำได้ดีด้วยสารเติมแต่งหากสัมผัสกับน้ำฝนหรือความชื้น
1.7 ทนต่อสภาพความร้อน รังสี เนื้อสีไม่ลุดลอกหรือซีดจางง่าย

2. สีทาภายใน
เป็นสีจริงสำหรับทาทับส่วนผนังที่อยู่ภายในบ้านหลังทาสีรองพื้นแล้วเพื่อให้เกิดสีตามโทนสีที่ต้องการ สีทาภายในจึงต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

2.1 เนื้อสีมีความละเอียดเป็นเงางาม
2.2 เนื้อสีเป็นเงา สามารถเช็ดทำความสะอาดสิ่งปนเปื้อน รอยด่างดำได้ง่าย และทนต่อแรงถูขัด
2.3 ป้องกันเชื้อรา แบคทีเรีย และคราบหมองคล้ำที่เกิดจากเชื้อรา
2.4 ปราศจากกลิ่นฉุน กลิ่นสารระเหยที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้อาศัยหรือทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์



3. สีทารองพื้น
เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ทารองพื้นในงานปูนที่ฉาบเสร็จก่อนที่จะใช้ยาจริงทั้งสีทาภายนอกหรือสีทาภายในทาทับให้เกิดสีตามโทนสีที่ต้องการ ผลิตภัณฑ์นี้เหมือนกับสีทาภายนอก และสีทาภายใน แต่ต่างที่ชนิดของกาว และส่วนผสมที่มากกว่า ซึ่งจะมีลักษณะทนต่อสภาพความเป็นด่างได้ดีเนื่องจากเป็นส่วนที่สัมผัสกับปูน นอกจากนั้นควรมีคุณสมบัติเหมือนกับสีทาภายในหรือภายนอกในบางประการ สีชนิดนี้มักใช้สไตรีนผสมกับอะคริลิก


ส่วนผสมของสีทาบ้าน

1. ผงสี 
เป็นส่วนผสมที่ทำให้เกิดสีปิดบังสีพื้นผิวเดิม มักใช้ผงสีที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น โมโนอะโซ พิกเม้นท์ (monoazo pigment) และส่วนผสมที่เป็นอนินทรีย์ เช่น ไททาเนียมไดออกไซด์ แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นต้น

2. สารยึดหรือสารเคลือบ
เป็นสารสำคัญในการทำหน้าที่ยึดประสานผงสีหรือสารให้สีเข้ากับสารยึดเพื่อยึดเกาะให้ติดกับพื้นผิว และทำหน้าที่เคลือบพื้นผิวที่มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ สารยึดที่เป็นองค์ประกอบหลักจะกระจายในรูปของอิมัลชันมีลักษณะสีขาวขุ่นคล้ายกาวหากยังไม่ได้ผสมกับผงสี เมื่อผสมกับผงสีจะให้เนื้อสีตามผงสี สารยึดเกาะนี้ที่นิยม คือ อะคริลิก ลักษณะที่ดีของสารยึดเกาะ ได้แก่
2.1 สามารถแห้งตัวได้เร็ว
2.2 มีความยืดหยุ่น เหนียว ไม่เปราะง่ายเมื่อแห้งตัว
2.3 ทนต่อสภาพความเป็นกรด แสงแดด ความชื้น และสภาพแวดล้อมด้านอื่นๆ

3. ตัวทำละลาย
เป็นสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวละลาย และเจือจางสารยึด และผงสี ถือเป็นส่วนประกอบที่มากที่สุด เพื่อให้มีความหนืดที่เหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น น้ำ

4. สารเติมแต่ง 
เป็นสารที่ใช้ผสมในสีทาบ้าน โดยใช้เติมเพียงเล็กน้อย เพื่อให้สีทาบ้านมีคุณสมบัติในด้านต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น ป้องกันการเกิดฟองของสี ป้องกันการบูดเน่าของสี เพิ่มการกระจายตัวของสี เพิ่มแรงยึดเกาะพื้นผิวให้ทนนาน เพิ่มความเรียบเนียน เพิ่มความมันเงา ช่วยป้องกันแสงแดด ป้องกันความชื้น ป้องกันเชื้อรา เป็นต้น


สารที่ใช้เติมเพื่อเพิ่มคุณสมบัติเหล่านี้ บางชนิดมักมีโลหะหนักเป็นส่วนผสม ซึ่งปัจจุบันอาจเลิกใช้หรือบางชนิดยังมีอยู่ในองค์ประกอบอยู่ เช่น ปรอท และตะกั่ว โดย มอก. ประกาศกำหนดให้มีปริมาณปรอทเป็นส่วนประกอบไม่เกินร้อยละ 0.05 ตะกั่วไม่เกินร้อยละ 0.06

ผลิตภัณฑ์ และการใช้งาน
ผลิตภัณฑ์สีทาบ้านที่มีจำหน่ายในปัจจุบันถือว่ามีความหลากหลายทั้งยี่ห้อผู้ผลิต สูตรของสี เฉดสีหรือโทนสี ซึ่งผู้ซื้อสามารถเลือกสีได้ตามความต้องการ ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายบริษัท ได้แก่
1. สีทาบ้าน TOA
2. สีทาบ้านดูลักซ์
3. สีทาบ้านนิปปอนเพนต์
4. สีทาบ้านซุปเปอร์ชิลด์
5. สีทาบ้านเบเยอร์

การใช้งานจะต้องทาสีรองพื้น 1-2 รอบก่อนจึงใช้สีแท้หรือสีทาบ้านทาทับ ซึ่งอาจทาเพียงรอบเดียวก็ทำให้สีขึ้นหรือสีชัดเจนได้หรือหากเป็นเฉดสีอ่อนอาจต้องทาทับรอบสองก็ได้

ชนิดผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่าย

ผลิตภัณฑ์สีทาบ้านที่มีจำหน่ายจะแบ่งออกเป็นเฉดสีต่างๆให้เลือกมากมาย ซึ่งมีรูปแบบของผลิตภัณฑ์ คือ

 

1. สีทาบ้านชนิดบรรจุถัง
เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นสีทาบ้านสำเร็จรูปบรรจุในถังบรรจุขนาดต่างๆ ที่มีเฉดสีเป็นแผ่นพับหรือโบชัวให้เลือก แต่เฉดสีที่ผลิตออกมามีจำนวนจำกัดอาจไม่ตรงตามความต้องการทั้งหมด

2. สีทาบ้านจากเครื่องผสมสีระบบคอมพิวเตอร์
เป็นรูปแบบการจำหน่ายสีที่ลูกค้าสามารถเลือกเฉดสีได้ตามต้องการ ซึ่งทางผู้ขายสามารถผลิตสีออกมาให้แก่ลูกค้าด้วยเครื่องผสมสีได้ในขณะนั้นทันที

ที่มา : ข้อมูลจาก Rasa Property Development